Saturday, December 31, 2005

Bye Bye 2005

วันสุดท้ายของปี 2005 กะว่าจะไปเที่ยว Siam Ocean World เพราะเราได้สิทธิพิเศษพนักงาน TRUE ซื้อ 1 แถม 1 ไปกัน 4 คนซื้อบัตร 2 ใบ ตกคนละ 225 บาท ก็ OK น่ะ

วันนี้ รถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าบริการคนละ 10 บาท เด็กและผู้สูงอายุ 5 บาท แถมที่จอดรถฟรีอีก ว่าแล้ววันนี้ก็ใช้บริการ รถไฟฟ้าและที่จอดรถด้วยเลยดีกว่า นานๆทีนะ

เจ๊ฮวงขับรถไปจอดที่สถานีลาดพร้าว นั่งรถไฟฟ้าไปลงที่สถานีสามย่าน ไปกินสเต๊กที่ตลาดสามย่านกันก่อน

ที่นี่ เคยไปกินประมาณ 6-7 ครั้ง ส่วนใหญ่ไปกินสเต็ก อาหารเขาเยอะนะ ราคามิตรภาพ ก็ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นนิสิตจุฬา แต่ตอนเราเรียนอยู่ที่นั่น ไปกินประมาณ 2-3 ครั้งเท่านั้น

เสร็จสรรพ โบกแท๊กซี่ไปสยามพารากอน ปรากฏว่า แท็กซี่ไม่ไปเพราะรถไม่สามารถเลี้ยวขวาได้ ถ้างั้นนั่งรถเมล์แล้วกัน

วันนี้ รถก็ยังติด แถมติดมากๆด้วย
ลงที่สยาม เดินนิดหน่อย เข้าสยามพารากอน โอ๊ะโอ คนเยอะมากๆ ยั่งกะแจกของฟรีแน่ะ

ถามประชาสัมพันธ์ บอกให้เดินตรงไปเรื่อยๆ ถ้าเจอลิฟท์แก้ว ให้ลงบันไดเลื่อน ก็จะถึง

ก่อนไปแวะไปเข้าห้องน้ำก่อน แต่ขอโทษเถอะ ทำไมที่นี่เขาทำป้ายแบบนี้ล่ะ แบบว่า ป้ายห้องน้ำดันชี้เข้าไปที่ธนาคาร พวกเราเดินมาเห็น ก็คิดว่าน่าจะเดินต่อไปอีกหน่อย

แต่ปรากฏว่า เจ๊ฮวงเดินฉับๆตรงไป ส่วนฉันก็รอๆอยู่แถวนั้น ในใจก็สงสัยเหมือนกัน พอหันกลับมา อ้าว ห้องน้ำดันอยู่ถัดจากที่เราเดินผ่านมาแล้วนี่

ป้ายเขาชี้ได้งง จริงๆ ทำป้ายได้ไม่สื่อเลย
เอาละ ได้เวลาซักกะที อยู่ตรงไหนเนี่ย Siam Ocean World

เอาเป็นว่า วันนั้น ถามพนักงานประมาณ 6 คน เดินแถบจะทั่วชั้นล่างแล้ว ป้ายซักนิด ก็ไม่มีบอก แถมตอนสุดท้ายที่เจอป้ายบอกทาง ก็ดันชี้ไปเข้าห้องน้ำกับลิฟท์เสียนี่

โอ้.. อะไรกันนี่ ทำไม ห้างใหญ่สุดหรูระดับนี้ ถึงให้ information ที่แย่ขนาดนี้ แล้วอีกอย่าง Siam Ocean World เนี่ยน่าจะมีการบอกทางเป็นระยะๆ

สุดท้าย หลังจากการค้นหาอันยาวนาน ก็เจอจนได้ แต่... ทำไมเป็นงี้ล่ะ คนเข้าแถวเยอะมากๆอีกล่ะ นี่เขาให้เข้าไปดูฟรีหรือไงกันเนี่ย ขนาดเข้าแถวต่อกันเพื่อซื้อตั๋ว ยังเยอะขนาดนี้ แล้วข้างในล่ะ...

ตกลง วันนี้ก็ไม่ได้ดูจนได้ หลังจากประชามติว่า ให้พ้นจากช่วงเทศกาลนี้ไปก่อนดีกว่า มาวันปรกติที่ไม่มี event ดีกว่านะ วันนี้เดินเที่ยวห้างละกัน

โอ้ สยามพารากอน...สยามพาเราหลง

Sunday, December 25, 2005

My New Watch

เช้านี้เอ๋ชวนไปซื้อทองที่เยาวราช ทำนองว่าได้เงินค่า job มา ไม่อยากให้หมดเร็ว ซื้อทองเก็บดีกว่า เอ.. ดีเหมือนกัน เราซื้อบ้างดีก่า.. ตรุษจีนปีนี้ ให้แตะเอียม่ามี๊เป็นทองแทนแล้วกัน

นัดเจอกันที่ default gateway อิอิ.. สถานีรถไฟหัวลำโพง แล้วนั่งสามล้อมาหน้าร้านทอง ฮั่วเซ่งเฮง ร้านนี้มีชื่อมากที่สุด คนเยอะจัง

เอ๋เลือกซื้อสร้อยคอ 1 บาท คนขายหยิบมา 10 เส้นให้เลือกลาย ส่วนเราก็ ร๊อ รอ ไปก่อน คนขายเขาจะ take care เป็นรายๆไป

ทองบาทละ 9800 บวกค่ากำเหน็จอีก 500 ก็ตก 10300 พอเอ๋ซื้อเสร็จ ตอนนี้ก็ถึงตาเราบ้างละ
เลือกสร้อยข้อมือดีกว่า ไอ้ตอนก่อนจะเลือก เห็นผู้หญิงคนหนึ่งมาซื้อสร้อยข้อมือเหมือนกัน เขาเลือกลายได้สวยดี แต่ตอนเราเลือกนี่ซิ ไม่มีลายที่เล็งไว้เมื่อตะกี้ ไอ้จะไปค้นหา ก็เยอะไปหมด สุดท้าย ก็เลือกเส้นมาเส้นหนึ่ง ก็ OK น่ะ ม่ามี๊น่าจะชอบ

หลังจากเสียตังค์แล้ว ก็ข้ามถนนไปกินกาแฟกันซะหน่อย ร้านนี้เลย เอี๊ยะแซ ร้านเก่าแก่ของเยาวราช ร้านนี้เคยมากินครั้งหนึ่ง ตอนตรุษจีน ส่วนใหญ่ลูกค้าที่ร้านนี้จะเป็นอาแป๊ะ อายุไม่น่าต่ำกว่า 60 อิอิ วันนี้กลุ่มเราเด็กสุดนะเนี่ย

ร้านเก่าๆดี โต๊ะและเก้าอี้ ก็แบบร้านจีนเก่าๆ สั่งกาแฟร้อนมากิน กะขนมปังทาเนย กาแฟอร่อยดี ดูเหมือนจะขม แต่ไม่ขม ราคากันเอง 15 บาท ขนมปังแผ่นละ 8 บาท อร่อยและถูกกว่า มนต์นมสด ตั้งเยอะ

กินกาแฟเสร็จ ก็ประมาณเที่ยงแล้วละ จะไปกินบะหมี่กันตรงตลาดเก่า ก่อนไปก็แวะซื้อเกาลัดมาตามระเบียบ หลังๆเนี่ยมักจะซื้อที่ร้าน เฉีย ถุงแดงๆ 1 กิโล ราคามาตรฐาน 200 บาท

เดินไปตลาดเก่า เกือบสุดซอย ก็เจอร้านบะหมี่เกี๊ยว ร้านนี้คุ้นๆเหมือนม่ามี๊เคยมากิน แต่เรายังไม่เคยกินเลยแฮะ สั่งบะหมี่เกี๊ยวหมูแดงมากิน แต่กินไม่หมดอ่ะ คือเพิ่งอิ่มจากกาแฟเมื่อตะกี๊มานะ

ออกจากร้านบะหมี่ เดินวนกลับทางเดิม ข้ามถนนไปอีกนิดก็เป็นคลองถมแล้ว จุดมุ่งหมายวันนี้ของเรา นอกจากทองแล้ว ก็ยังมีนาฬิกาอีกเรือน ว่าจะซื้อ Rolex สวยๆซักเรือน (อิอิ ไม่ต้องบอกหรอกนะว่า ของจริงหรือปลอม)

ที่คลองถมนี่ มี catalog ให้เลือกกันเลย ขายกันเยอะมาก หลายร้าน ไปดูของปลอมแล้วยังต้องระวังของปลอมกว่าอีกแน่ะ

ดูตั้งหลายร้าน ตอนแรกอยากได้แบบ 2 กษัตริย์ แต่ก็กลัวลอก ไปๆมาๆ ก็เลือกแบบสีเงิน กรอบล้อมเพชร หน้ามุก ดูสวยสง่าแบบเรียบๆ ราคา 1800 บาท (ขนาดปลอมนะเนี่ย)

เสร็จสรรพจากการเสียเงินก๊อก 2 แล้ว ก็ตกลงกันว่าจะไปเดินซื้อของกันอีกนิดหน่อยที่จตุจักร แทนที่จะเป็นสำเพ็ง คือเป็นทางกลับบ้านอยู่แล้ว และก็ของเยอะกว่าด้วย

ตั้งใจว่าจะไปซื้อของแจกน้องที่ office สำหรับปีใหม่นี้ คือคงต้องซื้อวันนี้แหละ สัปดาห์สุดท้ายแล้วนี่ นึกๆอยู่ว่าจะซื้ออะไรดี นึกถึงเทียนสวยๆหลากสีได้ ก็เลยว่าจะไปซื้อซะหน่อย

แต่ราคาแพงเหมือนกัน ตกอันละ 20 บาท เกินงบไปหน่อย เดินมาอีกนิด เจอเทียนอีกเหมือนกัน แต่ทำเป็นชุด ชุดละ 12 แท่ง ปัมท์เป็นรูป 12 ราศี ซื้อมา 2 ชุด 140 บาท OK น่ะ ขี้เกียจเดินหานาน

ก่อนกลับ แวะซื้อหนังสือกล้องดิจิตอลเล่มหนึ่ง ราคา 159 บาทจากราคาเต็ม 199 บาท เผื่อจะได้เทคนิคถ่ายรูปสวยๆบ้าง

กลับละ วันนี้กลับบ้านตัวเบาโหวง หมดเงินไปหลายเด้อ

Thursday, December 22, 2005

ราตรีสีแดง

วันนี้ที่แผนก NOC จัดงานเลี้ยงปีใหม่ที่ครัวเกศินี แถวเหม่งจ๋าย
ไปถึงประมาณ 6 โมงกว่าๆ ต้องไปลงทะเบียนก่อน เอาไว้ใช้จับฉลากของรางวัล

งานนี้ ให้ Theme ว่า ราตรีสีแดง เน้นให้แต่งตัวแดงๆมา ไอ้เรานอกจากจะไม่แต่งตัวด้วยสีแดงแล้วยังใส่สีเขียวมาอีก อย่ากระนั้นเลยเอาเสื้อคลุมของปุ้มมาใส่ละกัน กันไว้ก่อนเผื่อคนจัดงานจะลงโทษด้วยวิธีแปลกประหลาด

ไปถึง คนยังน้อยอยู่เลย ว่าแล้วก็โซ้ยเย็นตาโฟคนละชามก่อน ส่วนอาหารหลักต้องรอท่านประธานมาเปิด
พี่ประสงค์มาก็ทุ่มกว่าแล้วละ คนมากันเยอะแยะ ทั้ง 4 แผนกก็ร้อยกว่าคน พี่ประสงค์กล่าวเปิดงาน แล้วก็เริ่มกินกันละ

งานนี้มีการแสดงทั้งหมด 4 + 1 ชุด 4 ชุดนี่เป็นของแต่ละแผนก ส่วนอีกชุดเป็นชุดพิเศษสำหรับ manager โดยเฉพาะ
การแสดงนี้จะมีการโหวตให้คะแนนกันด้วย แต่ไม่ใช้ SMS หรอกนะ ใช้วิธีหยอดเงินใส่กล่อง ทีมไหนได้เงินเยอะสุด ก็ชนะไป

V1 ทีม IPNS ทีมนี้แสดงเดี่ยว ออกมาลิปซิงค์ แต่พ่อเจ้าประคุณ แต่งตัวได้แบบว่า... แถมท่ากระดกกระดกหลังเนี่ยซิ กินขาดจริงๆ
V2 ทีม OLS ทีมนี้ 2 สาว Four-Mod ออกมาคาราโอเกะเพลง "หายใจเป็นเธอ" เรียกคะแนนจากหนุ่มๆไปได้หลายอยู่
V3 ทีม NOCS งานนี้เอาแครอทมาฝาก น้องพึงเป็นนักร้องนำ โดยมี dancer หนุ่ม 4 คน(เอ๋,ตูน1,ตูน2,อ้น) มาวาดลวดลายเด็ก(โข่ง)ชาวเขา

ก่อนถึง V4 ก็มีการคั่นรายการด้วยการแสดง chicken little มีพี่วฤทธิ์, พี่สุเทพ, คุณบุญสม, ดุจ + นา จาก SMC
แต่โอ้ เป็นการแสดงที่สนุกสนาน ประทับใจมาก ไม่น่าเชื่อว่า พี่เทพจะเต้นได้ขนาดนี้ นี่ขนาด ไม่ค่อยได้ซ้อมกันนะเนี่ย

V4 ทีม SMC พี่ต้อยหมวกแดง(พี่สุวัฒน์) นำทีมนักร้องทั้งทีม มาร้องคาราโอเกะกัน หนุกหนาน

ถ่าย video clip ของ V3 และก็ของ manager ได้นิดหน่อย พอดี memory card เต็มซะก่อน เสียดายมากจริงๆอ่ะ แต่ดูๆไป งานนี้มีแต่คนถ่ายรูป ไม่เห็นจะมีใครเอากล้อง video มาถ่ายเลยซะคน

ของรางวัลมีตั้งเยอะแยะ แต่ไหงไม่ยอมจับชื่อเราบ้างน๊า กลับบ้านมือเปล่าอีกปีล่ะ

Saturday, December 10, 2005

Photo Fair

วันนี้เอ๋ชวนไปเที่ยวงาน Photo Fair ที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา เห็นว่าเซี้ยจะไปซื้อกล้อง (คราวนี้เอาจริงแฮะ เห็นว่าเตรียมไว้ไปเที่ยวที่ฮ่องกง)
ยังไม่เคยไปเลย ไม่รู้มีอะไรบ้าง ลองไปดูซักครั้งก็ดี

นั่งรถไฟฟ้า BTS ไปลงที่สถานีอ่อนนุช ออกจากสถานีเจอ เอ๋กะเค็งพอดี ไปกินข้าวที่ Lotus กันก่อนระหว่างรอตาเซี้ย
หลังจากกินข้าวเสร็จ ออกมาเจอตาเซี้ยแล้ว ก็นั่ง shuttle bus ไปที่งานกัน

งานนี้ส่วนใหญ่แล้ว ก็งานขายกล้อง , อุปกรณ์กล้องต่างๆ นึกว่าจะมีนิทรรศการอื่นๆเกี่ยวกับภาพซะอีก คนไม่ค่อยเยอะเท่าไร พื้นที่บริเวณก็ไม่กว้างมาก ถ้าเทียบกับที่เมืองทอง หรือ ศูนย์สิริกิตต์

เอ๋ดูเหมือนจะสนใจ ธุรกิจอัดรูป มีเครื่องอัดรูปมาแสดงในงานเยอะเหมือนกัน มีตั้งแต่ราคา 6-7 แสน ถึง 2-3 ล้าน ดูๆก็น่าสนใจเหมือนกัน ที่สำคัญคือทำเลดีๆ

ตาเซี้ย ดูกล้องอยู่หลายรุ่น ดูไปดูมา บอกว่าแพงกว่าที่ Fortune แต่ที่นี่เขาประกันศูนย์นี่นา ที่ Fortune ประกันที่ร้าน ราคาอาจแตกต่างเพราะสาเหตุนี้ด้วยละมั้ง

เดินดูสักพัก เห็นปิยะมาศ มานั่งแจกลายเซ็นต์ ขายหนังสือของตัวเอง (หนังสือนู้ด ที่ถ่ายโดยปิยะพงศ์อ่ะนะ) อือม.. หน้ายังเด้งอยู่เลย

ได้ยินเจ้าหน้าที่ประกาศว่าประมาณบ่าย 2 จะมีการเดินแบบ body paint และให้ตากล้องต่างๆที่สนใจ ลองหัดถ่าย ลองๆสอบถามว่ามีใครจะไปดูมั๊ย แต่ผิดคาด ไม่มีใครไปดูแฮะ

ถ้ดจากร้านขายกล้อง มีการบรรยายเรื่องการถ่ายภาพ เข้าไปเมียงๆมองๆ ดู อ้าว ต่อวงศ์ ซาลวาลา นี่นา ได้ยินมาเหมือนกันว่า ระยะหลังเพื่อนเราคนนี้ไปเอาดีด้านถ่ายภาพซะแล้ว วิศวะที่อุตส่าห์ร่ำเรียนมาเนี่ย ไม่เป็นมันแล้วละมั้ง

สุดท้ายตาเซี้ยก็ไม่ได้กล้องตามเคย เอ๋ทายแม่นจัง

ขากลับ ตัดสินใจอยู่ว่าจะไปลงที่ จตุจักร จะไปซื้อ Harry Potter ดีหรือว่า จะลงที่อนุสาวรีย์ชัยไปตัดผมดี .. จับไม้สั้นไม้ยาว ตัดผมเสริมความงามก่อนดีกว่า

Friday, December 09, 2005

E-Passport

วันนี้ไปรับ passport ที่กงศุล ตรงแจ้งวัฒนะ จากที่ไปทำเมื่อวันพุธที่ 7 passport นี้เป็นเล่มที่ 3 แล้วล่ะ ได้ยินมาว่า passport นี้จะเป็น e-passport โอ้ ตื่นเต้น ตื่นเต้น เราจะได้สัมผัสกับ เทคโนโลยีใหม่ๆ

ครั้งแรก ไปทำเมื่อปี 2536 โอ้ 12 ปีก่อน นานมาแล้วนี่นา ตอนนั้นจะไปอบรมที่ญี่ปุ่น ไป 2 สัปดาห์ ครั้งนั้นไปทำที่ ถนนศรีอยุธยา ตอนนั้นขั้นตอนยุ่งยากมาก ต้องเขียนแบบฟอร์มหลายหน้า เอกสารก็เยอะแยะ ทั้ง บัตรประชาชนเอย ทะเบียนบ้าน ทั้งตัวจริง, สำเนา ใช้เวลาทำ 1-2 ชั่วโมง กว่าจะมารับก็ต้องหลายวันอยู่ passport เล่มนี้ใช้ไป 2 ครั้ง แต่ปัทม์ไปหลายหน้า ครั้งนี้ไม่เสียตังค์เอง บริษัทออกให้

ครั้งที่ 2 ไปทำเมื่อปี 2543 ตอนนั้นหนีงานไปทำ คือไปทำบังหน้า จะไปสัมภาษณ์งาน (อิอิ เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีแฮะ) ครั้งนี้เลยต้องเสียตังค์เอง ตอนนั้นกระทรวงต่างประเทศเปลี่ยนสถานที่มาที่ แจ้งวัฒนะ ทำครั้งนี้ขั้นตอนดูยุ่งยากน้อยกว่า ใช้ แค่บัตรประชาชนมั้ง (ไม่ค่อยแน่ใจ จำไม่ค่อยได้ ก็มันนานมาแล้วนี่นา) passport เล่มนี้ ทำแล้วก็ไม่ได้ไปไหนเลยตั้ง 3 ปี ตอนนั้นเสียดายเหมือนกัน แม้ว่าจะใช้ได้ตั้ง 5 ปี แต่เมื่อปี 2546 ตอนนั้น มลชวนไปเที่ยวตุรกี จัดเตรียมทุกอย่างเรียบร้อย กำลังจะขึ้นเครื่องอีก 2 ชั่วโมง ดันมีข่าวเรื่องการระเบิดสถานฑูตกับสนามบิน ตัดสินใจนาทีสุดท้าย ก็ไม่ได้ไป เฮ้อ เสียดายจริงๆ เสียค่าทำวีซ่ากับค่าตั๋วเครื่องบินไปฟรีๆ แต่สุดท้าย passport เล่มนี้ก็ได้ใช้จนได้ ในปลายปี 2547 ไปเที่ยวสิงคโปร์กับเอ๋,นุ้ย,เซี้ย

ครั้งที่ 3 ครั้งนี้ ว่าจะไม่ทำก่อนละ จะไปเมื่อไรค่อยทำ แต่ปรากฏว่าหลังจากเล่ม 2 เพิ่งหมดอายุไปเดือนเดียว พี่ P บอกจะให้ไปเมืองจีน ไปที่เซิ่นเจิ้น ก็เลยไปทำ และก็ได้ยินมาว่า passport ที่จะทำนี่เป็น e-passport ซะด้วย

คนเยอะแม้จะยังเช้าอยู่ ประมาณ 8 โมงเศษๆ แล้วก็ไม่ใช่ช่วงเทศกาล แต่ระบบต่างๆเปลี่ยนไปเยอะ คราวนี้ใช้บัตรประชาชนใบเดียว เจ้าหน้าที่จะกดบัตรคิวให้ และก็ให้กระดาษเล็กๆมาเขียน เขียนเกี่ยวกับชื่อ-นามสกุล บุคคลที่ติดต่อได้ แต่ยังเขียนไม่เสร็จดีเท่าไร ก็ถึงคิวเราแล้วอ่ะ คือจะเรียกแบบต่อเนื่องครั้งละเป็น 10-20 คนเลยทีเดียว วิธีการครั้งนี้ก็ต่างจากทุกครั้ง คือทำที่โต๊ะเจ้าหน้าที่เลยทั้งการถ่ายรูป เซ็นต์เอกสาร จะมี เครื่องอ่านลายนิ้วมือ ใช้นิ้วชี้ ซ้าย-ขวา , กล้องถ่ายรูปดิจิตอล (A95 เหมือนเราเลย) ,เครื่อง printer ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จแล้วไปจ่ายตังค์ ทั้งหมด 1000+5 บาท 5 บาทนี่เป็นอากรแสตมป์

วันนี้ไปรับแล้วละ แต่โอ้ ทำไมมันเป็นยังนี้ล่ะ รูปเหมือนขาวดำ หน้าตาก็ดูอืดๆง่วงๆยังไงก็ไม่รู้ ก็ตอนถ่ายไม่ได้เสริมสวยไรเลยเนี่ย แย่จัง ดูดูเล่มนี้แล้วก็เหมือนไม่ต่างจากเล่มก่อนๆ แต่หน้าสุดท้ายจะแข็งๆหนาๆ สงสัย เจ้า microship จะอยู่ในหน้านี้ละมั้ง ว่าแล้วก็ไปค้นๆหาข้อมูลในเว็บเกี่ยวกับเจ้า e-passport ได้ข้อมูลมา ก็เลยเอามาแปะไว้อ่านกัน ข้อมูลข้างล่างนี้มาจาก
http://www.thailife.de/aktuelles-artikel/artikel/e-passport.htm


วิวัฒนาการหนังสือเดินทางไทย สู่หนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์
รายการกงสุลสัมพันธ์ ขอนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือเดินทางไทยหรือ Passport ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญประจำตัว ที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้พลเมือง หรือคนชาติของตน เพื่อให้แสดงตนในต่างประเทศ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณ และพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน และกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนำออกใช้ในอีกไม่ช้านี้ ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้บางส่วนตำมาจาก และแหล่งที่มาในส่วนของประวัติและภาพประกอบ จากเอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

หนังสือเดินทางไทยในยุคแรก
ในสมัยโบราณ การเดินทางระหว่างประเทศมีความยากลำบาก และต้องใช้ระยะเวลายาวนาน การเดินทางติดต่อกับต่างประเทศ จึงจำกัดเฉพาะชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้า และนักสอนศาสนา ซึ่งการเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไปต่างรัฐ ส่วนใหญ่จะใช้หนังสือหรือสาส์นของกษัตริย์หรือผู้ปกครองอีกรัฐหนึ่ง โดยระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทางและขอให้รัฐผู้รับ อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย และในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีการแต่งตั้งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์น จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปเจอริญสัมพันธไม่ตรี

ในส่วนของประเทศไทย เริ่มปรากฎหลักฐานที่ชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับรูปแบบการออกหนังสือเดินทางสำหรับคนไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จกพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือที่ออกให้เฉพาะบุคคล หรือคณะบุคคลมีตราประทับที่พบคือ ตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อยหรือตราสุครีบ มีอายุการใช้งาน 1 ปี ในระยะแรกเป็นเอกสารเดินทางออกให้แก่ บุคคลเพื่อใช้เดินทางระหว่างมณฑลหรือภายในประราชอาณาเขต ยังไม่มีหนังสือเดินทางที่ใช้เดินทางไปต่างประเทศ ต่มาจึงพัฒนาเป็นหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง แล้วก็มีหนังสือเดินทางหมู่ที่ออกให้ในปัจจุบันคือ เล่มหนึ่งออกให้กับหลายคน

ต่อมาได้มีการกำหนดให้ใช้หนังสือเดินทาง ในลักษณะที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า หน้าแรกเป็นข้อความขออำนวยความสะดวก ในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางและหน้า ๒ เป็นรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อ มีอายุการใช้งาน 1 ปี

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต่างๆ ต่างเข้มงวดในการเดินทางเข้าออกประเทศ และมีมาตราการในการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง ของคนต่างชาติ หรือวีซ่ารัฐบาลไทยในสมัยพระบามาเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงใได้กำหนดกฏเกณฑ์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทางตีพมิพ์ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือนกวันยายน 2460 เพื่อให้คนไทย ที่จะเดินทางออกไปนอกประเทศให้ขอหนังสือเดินทาง จากผู้ว่าราชการจังหวัดในมณฑลของตน

ผลจากอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงในระดับระหว่างประเทศ และผลการประชุมองค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ที่กรุงปารีส ในปี 2463 เรียกร้องให้ทุกประเทศกำหนดรูปแบบหนังสือเดินทางในลักษณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็เข้าร่วม/รับรอง ข้อมติดังกล่าวและประเทศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกเมื่อ 1 กรกฏาคม 2470 เป็นผลให้มีการปรับเปลี่ยนลักษณะ และรูปแบบของหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปลายสมัยรัชกาลที่ 6 หรือประมาณหลังปี 2460 เป็นต้นมา หนังสือเดินทางในสมัยนั้นมีรูปเล่มปกแข็งขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน มี 32 หน้า มีอายุการใช้งาน 2 ปี ต่ออายุได้อีก 1 ครั้ง รวมเป็น 4 ปี แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่าง อาทิ สี ตราครุฑบนปกและลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน จนกระทั่งปี 2520 ได้มีการเปลี่ยนแปลรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทาง จากการตีพิมพ์ด้วยภาษาไทย กับภาษาฝรั่งเศส มาเป็นข้อมูลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

รูปแบบหนังสือเดินทางไทยบัจจุบัน
หนังสือเดินทางไทย ได้รับการพัฒนาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิต และเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยกองหนังสือเดินทาง ได้พยายามพัฒนาระบบการผลติเล่มหนังสือเดินทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อการให้บริการหนังสือเดินทาง เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และป้องการการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในช่วงระหว่างปี 2536-2545 ได้มีการนำระบบ Digital Passort System ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทาง ลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอล แทนการติดรูปตามระบบเดิม และสามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine Readable Passort) มีการปรับเปลี่ยนการผลิตเล่มหนังสือเดินทาง ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลในเล่มหนังสือเดินทางเป็นข้อมูลหน้าเดียว เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization ICAO) ต่อมาก็ได้นำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูลและการพิมพ์ขอมูลลงในเล่มโดยตรง รวมทั้งการสร้างระบบหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎร ด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอหนังสือเดินทาง โดยอาศัยหมายเลขประจำตัวประชาชนให้บริการรับคำร้องโดยรวดเร็ว และทำการผลิตหนังสือเดินทางได้ภายใน 3 วันทำการ

ในปี 2545 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนารูปแบบของหนังสือเดินทางแบบใหม่ที่มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง (Security Features) เพิ่มมากขึ้นและใช้เทคโนโลยีระดับสูงเช่นเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร มีคุณสมบัติพิเศษที่ใส่ไว้ในหนังสือเดินทาง บางอย่างเห็นไม่ได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และบางอย่างก็แฝงไว้อย่างแนบเนียน ทำให้ยากในการปลอมแปลง อีกทั้งคุณลักษณะบางประการผลิตขึ้น ด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่อาจหาในท้องตลาดทั่วๆ ไป ทำให้มีความปลอดภัยและปลอดจากการปลอมแปลง

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport)
เหตุการณ์การก่อวินาศภัยตึก World Trade ที่มหานครนิวยอร์ก เมื่อ 11 กันยายน 2544 เป็นแรกผลักดันให้องค์การการบินพลเรื่องระหว่างประเทศ (ICAO) และประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา พยายามหามาตรการสกัดกั้นการก่อการร้ายระหว่างประเทศ โดยนำเคนโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต็ให้ให้เข้ากับสถานการณ์ ด้วยการเร่งพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทางให้ทันสมัย ยากต่อการปลอมแปลง สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำ และสะดวกรวดเร็วในรูปแบบการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (Biometics Data) และนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา รูปแบบหนังสือเดินทางของไทยเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ (e-passport) โดยเริ่มจากการหารือ ระหว่างนากรัฐมานตรีไทยและมาเลเซีย ที่เกาะลังกาวี ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2546 ซึ่งมีประเด็นเรื่องหนังสือเดินทางไทย ต่อมาคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทย ให้ทันสมัยได้มาตรฐาน เป็นไปในทางเดียวกันกับต่างประเทศ และสอดคล้องกับความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศก ับการะทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทยให้ทันสมัยตามมาตรฐานของ ICAO และให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณา จัดเตรียมโครงสร้างของระบบที่เหมาะสม เพื่อรองรับการจัดทำหนังสือเดินทางให้ทันสมัยต่อไป

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือเป็นนโยบาย ที่กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการ เพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาล ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-government) และเพื่อให้สอดคล้องและสามารถบูรณาการกับระบบ smart card ของกระทรวงมหาดไทย ระบบตรวจคนเข้าเมืองของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระบบตรวจสอบประวัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคต เพื่อยกระดับหนังสือเดินทางไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับประเทศต่างๆ รวมทั้งเป็นมาตรฐานเดียวกับ ICAO และเพื่อเป็นมาตรการสกัดกั้นและป้องกัน ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ และการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน

e-passport คืออะไร
หนังสือเดินทางรูปแบบ e-passport คือหนังสือเดินทางที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย (Security Technology) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biometric) เทคโนโลยี Contactless intergrated (IC) และเทคโนโลยีการผลิตเล่มหนังสือเดินทาง (Passport Booklet) มาผสมผสานเข้าด้วยกันเป็นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Passport, e-passport) ด้วยการบันทึกข้อมูลชีวภาพ อาทิ รูปถ่าย โครงสร้างใบหน้า ลายพิมนิ้วมือ ม่านตาหรือฝ่ามือ ฯลฯ ใน microchip ฝังไว้ในหนังสือเดินทาง ทำให้ป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและสะดวกรวดเร็ว นอกจากไทยซึ่งเป็นประเทศแรกในภูมิภาคแล้ว ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและสวีเดน กำลังอยู่ในระหว่างการริเริ่มทดลองเป็นโครงการนำร่อง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีความก้าวหน้าและทันสมัยมาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ยังมีราคาสูงมาก
รูปแบบ e-passport ของไทย กรมการกงสุลได้ศึกษาและกำหนดรูปแบบ e-passport ไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ ICAO ดังต่อไปนี้

1. เป็นหนังสือเดินทางที่สามารถอ่านด้วยเครื่อง (machine readable) ที่บันทึก
2. ข้อมูลใน microchip 2 แบบคือ ข้อมูลบุคคลในหน้าหนังสือเดินทางที่เป็นข้อความ และลายมือชื่อ และข้อมูลชีวภาพคือ รูปถ่ายโครงสร้างใบหน้า และลายนิ้วมือฝังที่หน้าข้อมูลหรือปกหลังของ e-passport ไทย
3. microchip ที่ใช้มีหน่วยควมจำตั้งแต่ 32 k ขึ้นไปเพื่อให้สามารถบันทึกโครงสร้างใบหน้า ลายพิมพ์นิ้วมือและข้อมูลบุคคล รวมมทั้งรองรับากรปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมมาตรฐานในอนาคตของ ICAO ได้ทุกรูปแบบ
4. คุณลักษณะของ microchip ที่ฝังใน e-passport ไทย จะเป็นแบบ Contactless IC
5. หน้าข้อมูล Polycarbonate ที่ใช้กับเครื่อง Laser Engraving

แผนงานและเป้าหมายการผลิต
1. กระทรวงการต่างประเทศได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทาง e-passport โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ เป็นประธาน ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงฯ และผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกรรมการ เพื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับ e-passport ของไทยและจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบ เพื่อให้ตำปรึกษา เสนอแนะการพัฒนาระบบให้เ)็นไปตามมาตรฐาน ICAO จัดทำข้อกำหนดโครงการ (TOR) และข้อมูลจำเพาะ เพื่อจัดจ้างผู้ประกอบการพัฒนาโครงการรวม ทั้งติดตั้งและประเมินผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว
2. แผนการออก e-passport ทูตและราชการเป็นโครงการนำร่อง ภายหลังจากได้ผู้ประกอบการจากการประกวดราคา เพื่อจัดจ้างผู้ประกอบการผลิตเล่มหนังสือเดินทางและพัฒนาระบบ e-passport จำนวน 7 ล้านเล่ม ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ และคาดว่าจะสามารถให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ที่กรมการกงสุลได้ในราวเดือน เมษายน 2548 เป็นต้นไป และขยายขอบข่ายครอบคลุม สำนักงานสาขาของกองหนังสือเดินทางทั้งในประเทศ และสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทย ในต่างประเทศได้ภายในปี 2548 รวมทั้งมีการปรับปรุงระบบ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน ด้านเทคนิคของ ICAO ทั้งนี้รูปเล่มหนังสือเดินทางจะมี 48 หน้า มีอายุการใช้งาน 5 ปี และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเล่มหรือต่ออายุในเล่มได้ (เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกำหนดของ ICAO) โดยผู้ขอทำหนังสือเดินทางแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงที่มีเลข 13 หลัก พร้อมกับลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์บนข้อมูลชีวภาพทั้งหมดซึ่งได้แก่ รูปภาพใบหน้า และลายนิ้วมือ

เจ้าหน้าที่การทูต 7
กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล
© ข้อมูลจากหนังสือ "วิทยุสราญรมย์" ปีที่ 6 ฉบับที่ 25 ตุลาคม - ธันวาคม 2547

Monday, December 05, 2005

Firework

วันนี้วันเฉลิมในหลวงของปวงชนชาวไทย นัดกับเพื่อนๆว่าจะไปถ่ายรูปพลุที่สนามหลวงกันซะหน่อย
ปรกติแล้ววันนี้ของทุกปี มักจะไม่ได้ไปไหน อยู่บ้านซะมากกว่า มาปีนี้ เกิดอยากไปถ่ายรูปพลุ หลังจากพลาดจากเมื่อวันแม่ที่ผ่านมา

นัดกัน 6 โมงเย็นที่สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง ออกมาก็แวะกินบะหมี่กันก่อน เสร็จสรรพก็โบกแท็กซี่ไปราชดำเนิน
นั่งๆรถ รถก็ติด มองๆไปนอกรถเจอ โดโด้ แต่ดูแปลกๆเหมือนหลบๆ ใครก็ไม่รู้ ตัวใหญ่เหมือนฝรั่งเลย

รถไปจอดบริเวณป้อมพระกาฬ ไปต่อไม่ได้ละ คนเยอะมาก ไหนๆก็มาหยุดที่ป้อมพระกาฬแล้ว วันนี้ประดับไฟสวยดี ถ่ายรูปซะหน่อย

ป้อมพระกาฬ

วันนี้ลงทุนเอาขาตั้งกล้องมาด้วย ตั้งแต่มีเจ้าขาตั้งกล้อง ยังไม่เคยเอามาใช้จริงๆจังๆซะที
ถ่ายตรงนี้เสร็จ พวกเราก็ไม่ไปไหนกันละ ตั้งขาตั้งกล้องรอกันตรงเกาะตั้งเสาไฟจราจรตรงนั้นเลยอ่ะ แล้วก็ระดมถ่ายรูป แบบว่าลองตั้งค่าต่างๆกัน ฉันก็ลอง mode P โดยลองตั้งค่า

แต่ไหงถ่ายไปถ่ายมา รูปมันจ้าไปหมดเลย สงสัยยังตั้งไม่ถูก ไม่เป็นไร ลองผิดลองถูกไป

ถนนราชดำเนิน

ตั้งได้สักพัก คนเริ่มเดินทางมากันเยอะพอสมควร ส่วนใหญ่ก็มุ่งหน้าไปสนามหลวงกัน พวกเราก็ตั้งใจปักหลักกันอยู่ตรงนี้แหละ คิดว่าน่าจะเป็นมุมดีที่สุดแล้วนะ

แต่เพื่อให้แน่ใจว่าตรงจุดนี้จะได้เห็นพลุจริงๆ ลองสอบถามคนขายหมูปิ้งดีกว่า
หลังจากแน่ใจว่า จุดนี้ก็มองเห็นเหมือนกัน ก็ตั้งกล้องอีกครั้ง ลองถ่ายหลายๆรูป ลอง drive mode ดูบ้างดีกว่า

ประมาณ ทุ่มกว่า ตำรวจก็กั้นไม่ให้อยู่ตรงเกาะกลางถนน คือขบวนเสด็จกำลังจะผ่านไป มองเพ่งอยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าใครเสด็จ

ถนนราชดำเนิน

หลังจากขบวนเสด็จผ่านไป พวกเราก็รีบกันเลย ตั้งกล้องเตรียมละ
แต่... เอาเข้าจริง ปรากฏว่า พลุขึ้นอีกทางหนึ่ง มุมแบบ 90 องศาจากที่ยืนเล็งเลยนะเนี่ย รีบเปลี่ยนมุมกล้อง แต่กว่าจะจัดตำแหน่งได้ ปรากฏว่า ควันเต็มไปหมด

พลุขึ้นได้สักพัก ก็เปลี่ยนมุมมาอยู่ตรงมุมแรกที่พวกเราตั้งกล้องไว้ ว๊า.. ต้องหันกล้องกลับมาอีกล่ะ

ถ่ายไปหลายช๊อตมากๆ แต่... ไม่สวยเลยแฮะ การใช้ขาตั้งกล้อง มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกัน ในกรณีที่เราไม่สามารถคาดตำแหน่งของสิ่งที่จะถ่ายได้แน่นอน (อย่างเช่น พลุเนี่ย) อันดีเป็นข้อเสียแล้วล่ะ เพราะกว่าเราจะปรับกล้องให้ถ่ายตำแหน่งพลุได้ พลุก็ถูกจุดไปหลายนัดแล้วล่ะ ตามมาด้วยควันเต็มไปหมด

เอารูปที่ถ่ายมาดู ไม่มีรูปพลุสวยเลยสักรูป เพิ่งรู้ว่าถ่ายรูปพลุเนี่ยยากจริงๆ

ถ่ายบริเวณรอบๆแล้วกัน