Friday, December 09, 2005

E-Passport

วันนี้ไปรับ passport ที่กงศุล ตรงแจ้งวัฒนะ จากที่ไปทำเมื่อวันพุธที่ 7 passport นี้เป็นเล่มที่ 3 แล้วล่ะ ได้ยินมาว่า passport นี้จะเป็น e-passport โอ้ ตื่นเต้น ตื่นเต้น เราจะได้สัมผัสกับ เทคโนโลยีใหม่ๆ

ครั้งแรก ไปทำเมื่อปี 2536 โอ้ 12 ปีก่อน นานมาแล้วนี่นา ตอนนั้นจะไปอบรมที่ญี่ปุ่น ไป 2 สัปดาห์ ครั้งนั้นไปทำที่ ถนนศรีอยุธยา ตอนนั้นขั้นตอนยุ่งยากมาก ต้องเขียนแบบฟอร์มหลายหน้า เอกสารก็เยอะแยะ ทั้ง บัตรประชาชนเอย ทะเบียนบ้าน ทั้งตัวจริง, สำเนา ใช้เวลาทำ 1-2 ชั่วโมง กว่าจะมารับก็ต้องหลายวันอยู่ passport เล่มนี้ใช้ไป 2 ครั้ง แต่ปัทม์ไปหลายหน้า ครั้งนี้ไม่เสียตังค์เอง บริษัทออกให้

ครั้งที่ 2 ไปทำเมื่อปี 2543 ตอนนั้นหนีงานไปทำ คือไปทำบังหน้า จะไปสัมภาษณ์งาน (อิอิ เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีแฮะ) ครั้งนี้เลยต้องเสียตังค์เอง ตอนนั้นกระทรวงต่างประเทศเปลี่ยนสถานที่มาที่ แจ้งวัฒนะ ทำครั้งนี้ขั้นตอนดูยุ่งยากน้อยกว่า ใช้ แค่บัตรประชาชนมั้ง (ไม่ค่อยแน่ใจ จำไม่ค่อยได้ ก็มันนานมาแล้วนี่นา) passport เล่มนี้ ทำแล้วก็ไม่ได้ไปไหนเลยตั้ง 3 ปี ตอนนั้นเสียดายเหมือนกัน แม้ว่าจะใช้ได้ตั้ง 5 ปี แต่เมื่อปี 2546 ตอนนั้น มลชวนไปเที่ยวตุรกี จัดเตรียมทุกอย่างเรียบร้อย กำลังจะขึ้นเครื่องอีก 2 ชั่วโมง ดันมีข่าวเรื่องการระเบิดสถานฑูตกับสนามบิน ตัดสินใจนาทีสุดท้าย ก็ไม่ได้ไป เฮ้อ เสียดายจริงๆ เสียค่าทำวีซ่ากับค่าตั๋วเครื่องบินไปฟรีๆ แต่สุดท้าย passport เล่มนี้ก็ได้ใช้จนได้ ในปลายปี 2547 ไปเที่ยวสิงคโปร์กับเอ๋,นุ้ย,เซี้ย

ครั้งที่ 3 ครั้งนี้ ว่าจะไม่ทำก่อนละ จะไปเมื่อไรค่อยทำ แต่ปรากฏว่าหลังจากเล่ม 2 เพิ่งหมดอายุไปเดือนเดียว พี่ P บอกจะให้ไปเมืองจีน ไปที่เซิ่นเจิ้น ก็เลยไปทำ และก็ได้ยินมาว่า passport ที่จะทำนี่เป็น e-passport ซะด้วย

คนเยอะแม้จะยังเช้าอยู่ ประมาณ 8 โมงเศษๆ แล้วก็ไม่ใช่ช่วงเทศกาล แต่ระบบต่างๆเปลี่ยนไปเยอะ คราวนี้ใช้บัตรประชาชนใบเดียว เจ้าหน้าที่จะกดบัตรคิวให้ และก็ให้กระดาษเล็กๆมาเขียน เขียนเกี่ยวกับชื่อ-นามสกุล บุคคลที่ติดต่อได้ แต่ยังเขียนไม่เสร็จดีเท่าไร ก็ถึงคิวเราแล้วอ่ะ คือจะเรียกแบบต่อเนื่องครั้งละเป็น 10-20 คนเลยทีเดียว วิธีการครั้งนี้ก็ต่างจากทุกครั้ง คือทำที่โต๊ะเจ้าหน้าที่เลยทั้งการถ่ายรูป เซ็นต์เอกสาร จะมี เครื่องอ่านลายนิ้วมือ ใช้นิ้วชี้ ซ้าย-ขวา , กล้องถ่ายรูปดิจิตอล (A95 เหมือนเราเลย) ,เครื่อง printer ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จแล้วไปจ่ายตังค์ ทั้งหมด 1000+5 บาท 5 บาทนี่เป็นอากรแสตมป์

วันนี้ไปรับแล้วละ แต่โอ้ ทำไมมันเป็นยังนี้ล่ะ รูปเหมือนขาวดำ หน้าตาก็ดูอืดๆง่วงๆยังไงก็ไม่รู้ ก็ตอนถ่ายไม่ได้เสริมสวยไรเลยเนี่ย แย่จัง ดูดูเล่มนี้แล้วก็เหมือนไม่ต่างจากเล่มก่อนๆ แต่หน้าสุดท้ายจะแข็งๆหนาๆ สงสัย เจ้า microship จะอยู่ในหน้านี้ละมั้ง ว่าแล้วก็ไปค้นๆหาข้อมูลในเว็บเกี่ยวกับเจ้า e-passport ได้ข้อมูลมา ก็เลยเอามาแปะไว้อ่านกัน ข้อมูลข้างล่างนี้มาจาก
http://www.thailife.de/aktuelles-artikel/artikel/e-passport.htm


วิวัฒนาการหนังสือเดินทางไทย สู่หนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์
รายการกงสุลสัมพันธ์ ขอนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือเดินทางไทยหรือ Passport ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญประจำตัว ที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้พลเมือง หรือคนชาติของตน เพื่อให้แสดงตนในต่างประเทศ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณ และพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน และกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนำออกใช้ในอีกไม่ช้านี้ ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้บางส่วนตำมาจาก และแหล่งที่มาในส่วนของประวัติและภาพประกอบ จากเอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

หนังสือเดินทางไทยในยุคแรก
ในสมัยโบราณ การเดินทางระหว่างประเทศมีความยากลำบาก และต้องใช้ระยะเวลายาวนาน การเดินทางติดต่อกับต่างประเทศ จึงจำกัดเฉพาะชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้า และนักสอนศาสนา ซึ่งการเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไปต่างรัฐ ส่วนใหญ่จะใช้หนังสือหรือสาส์นของกษัตริย์หรือผู้ปกครองอีกรัฐหนึ่ง โดยระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทางและขอให้รัฐผู้รับ อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย และในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีการแต่งตั้งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์น จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปเจอริญสัมพันธไม่ตรี

ในส่วนของประเทศไทย เริ่มปรากฎหลักฐานที่ชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับรูปแบบการออกหนังสือเดินทางสำหรับคนไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จกพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือที่ออกให้เฉพาะบุคคล หรือคณะบุคคลมีตราประทับที่พบคือ ตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อยหรือตราสุครีบ มีอายุการใช้งาน 1 ปี ในระยะแรกเป็นเอกสารเดินทางออกให้แก่ บุคคลเพื่อใช้เดินทางระหว่างมณฑลหรือภายในประราชอาณาเขต ยังไม่มีหนังสือเดินทางที่ใช้เดินทางไปต่างประเทศ ต่มาจึงพัฒนาเป็นหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง แล้วก็มีหนังสือเดินทางหมู่ที่ออกให้ในปัจจุบันคือ เล่มหนึ่งออกให้กับหลายคน

ต่อมาได้มีการกำหนดให้ใช้หนังสือเดินทาง ในลักษณะที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า หน้าแรกเป็นข้อความขออำนวยความสะดวก ในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางและหน้า ๒ เป็นรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อ มีอายุการใช้งาน 1 ปี

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต่างๆ ต่างเข้มงวดในการเดินทางเข้าออกประเทศ และมีมาตราการในการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง ของคนต่างชาติ หรือวีซ่ารัฐบาลไทยในสมัยพระบามาเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงใได้กำหนดกฏเกณฑ์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทางตีพมิพ์ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือนกวันยายน 2460 เพื่อให้คนไทย ที่จะเดินทางออกไปนอกประเทศให้ขอหนังสือเดินทาง จากผู้ว่าราชการจังหวัดในมณฑลของตน

ผลจากอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงในระดับระหว่างประเทศ และผลการประชุมองค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ที่กรุงปารีส ในปี 2463 เรียกร้องให้ทุกประเทศกำหนดรูปแบบหนังสือเดินทางในลักษณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็เข้าร่วม/รับรอง ข้อมติดังกล่าวและประเทศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกเมื่อ 1 กรกฏาคม 2470 เป็นผลให้มีการปรับเปลี่ยนลักษณะ และรูปแบบของหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปลายสมัยรัชกาลที่ 6 หรือประมาณหลังปี 2460 เป็นต้นมา หนังสือเดินทางในสมัยนั้นมีรูปเล่มปกแข็งขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน มี 32 หน้า มีอายุการใช้งาน 2 ปี ต่ออายุได้อีก 1 ครั้ง รวมเป็น 4 ปี แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่าง อาทิ สี ตราครุฑบนปกและลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน จนกระทั่งปี 2520 ได้มีการเปลี่ยนแปลรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทาง จากการตีพิมพ์ด้วยภาษาไทย กับภาษาฝรั่งเศส มาเป็นข้อมูลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

รูปแบบหนังสือเดินทางไทยบัจจุบัน
หนังสือเดินทางไทย ได้รับการพัฒนาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิต และเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยกองหนังสือเดินทาง ได้พยายามพัฒนาระบบการผลติเล่มหนังสือเดินทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อการให้บริการหนังสือเดินทาง เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และป้องการการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในช่วงระหว่างปี 2536-2545 ได้มีการนำระบบ Digital Passort System ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทาง ลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอล แทนการติดรูปตามระบบเดิม และสามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine Readable Passort) มีการปรับเปลี่ยนการผลิตเล่มหนังสือเดินทาง ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลในเล่มหนังสือเดินทางเป็นข้อมูลหน้าเดียว เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization ICAO) ต่อมาก็ได้นำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูลและการพิมพ์ขอมูลลงในเล่มโดยตรง รวมทั้งการสร้างระบบหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎร ด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอหนังสือเดินทาง โดยอาศัยหมายเลขประจำตัวประชาชนให้บริการรับคำร้องโดยรวดเร็ว และทำการผลิตหนังสือเดินทางได้ภายใน 3 วันทำการ

ในปี 2545 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนารูปแบบของหนังสือเดินทางแบบใหม่ที่มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง (Security Features) เพิ่มมากขึ้นและใช้เทคโนโลยีระดับสูงเช่นเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร มีคุณสมบัติพิเศษที่ใส่ไว้ในหนังสือเดินทาง บางอย่างเห็นไม่ได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และบางอย่างก็แฝงไว้อย่างแนบเนียน ทำให้ยากในการปลอมแปลง อีกทั้งคุณลักษณะบางประการผลิตขึ้น ด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่อาจหาในท้องตลาดทั่วๆ ไป ทำให้มีความปลอดภัยและปลอดจากการปลอมแปลง

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport)
เหตุการณ์การก่อวินาศภัยตึก World Trade ที่มหานครนิวยอร์ก เมื่อ 11 กันยายน 2544 เป็นแรกผลักดันให้องค์การการบินพลเรื่องระหว่างประเทศ (ICAO) และประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา พยายามหามาตรการสกัดกั้นการก่อการร้ายระหว่างประเทศ โดยนำเคนโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต็ให้ให้เข้ากับสถานการณ์ ด้วยการเร่งพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทางให้ทันสมัย ยากต่อการปลอมแปลง สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำ และสะดวกรวดเร็วในรูปแบบการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (Biometics Data) และนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา รูปแบบหนังสือเดินทางของไทยเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ (e-passport) โดยเริ่มจากการหารือ ระหว่างนากรัฐมานตรีไทยและมาเลเซีย ที่เกาะลังกาวี ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2546 ซึ่งมีประเด็นเรื่องหนังสือเดินทางไทย ต่อมาคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทย ให้ทันสมัยได้มาตรฐาน เป็นไปในทางเดียวกันกับต่างประเทศ และสอดคล้องกับความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศก ับการะทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทยให้ทันสมัยตามมาตรฐานของ ICAO และให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณา จัดเตรียมโครงสร้างของระบบที่เหมาะสม เพื่อรองรับการจัดทำหนังสือเดินทางให้ทันสมัยต่อไป

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือเป็นนโยบาย ที่กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการ เพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาล ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-government) และเพื่อให้สอดคล้องและสามารถบูรณาการกับระบบ smart card ของกระทรวงมหาดไทย ระบบตรวจคนเข้าเมืองของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระบบตรวจสอบประวัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคต เพื่อยกระดับหนังสือเดินทางไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับประเทศต่างๆ รวมทั้งเป็นมาตรฐานเดียวกับ ICAO และเพื่อเป็นมาตรการสกัดกั้นและป้องกัน ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ และการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน

e-passport คืออะไร
หนังสือเดินทางรูปแบบ e-passport คือหนังสือเดินทางที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย (Security Technology) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biometric) เทคโนโลยี Contactless intergrated (IC) และเทคโนโลยีการผลิตเล่มหนังสือเดินทาง (Passport Booklet) มาผสมผสานเข้าด้วยกันเป็นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Passport, e-passport) ด้วยการบันทึกข้อมูลชีวภาพ อาทิ รูปถ่าย โครงสร้างใบหน้า ลายพิมนิ้วมือ ม่านตาหรือฝ่ามือ ฯลฯ ใน microchip ฝังไว้ในหนังสือเดินทาง ทำให้ป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและสะดวกรวดเร็ว นอกจากไทยซึ่งเป็นประเทศแรกในภูมิภาคแล้ว ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและสวีเดน กำลังอยู่ในระหว่างการริเริ่มทดลองเป็นโครงการนำร่อง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีความก้าวหน้าและทันสมัยมาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ยังมีราคาสูงมาก
รูปแบบ e-passport ของไทย กรมการกงสุลได้ศึกษาและกำหนดรูปแบบ e-passport ไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ ICAO ดังต่อไปนี้

1. เป็นหนังสือเดินทางที่สามารถอ่านด้วยเครื่อง (machine readable) ที่บันทึก
2. ข้อมูลใน microchip 2 แบบคือ ข้อมูลบุคคลในหน้าหนังสือเดินทางที่เป็นข้อความ และลายมือชื่อ และข้อมูลชีวภาพคือ รูปถ่ายโครงสร้างใบหน้า และลายนิ้วมือฝังที่หน้าข้อมูลหรือปกหลังของ e-passport ไทย
3. microchip ที่ใช้มีหน่วยควมจำตั้งแต่ 32 k ขึ้นไปเพื่อให้สามารถบันทึกโครงสร้างใบหน้า ลายพิมพ์นิ้วมือและข้อมูลบุคคล รวมมทั้งรองรับากรปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมมาตรฐานในอนาคตของ ICAO ได้ทุกรูปแบบ
4. คุณลักษณะของ microchip ที่ฝังใน e-passport ไทย จะเป็นแบบ Contactless IC
5. หน้าข้อมูล Polycarbonate ที่ใช้กับเครื่อง Laser Engraving

แผนงานและเป้าหมายการผลิต
1. กระทรวงการต่างประเทศได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทาง e-passport โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ เป็นประธาน ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงฯ และผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกรรมการ เพื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับ e-passport ของไทยและจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบ เพื่อให้ตำปรึกษา เสนอแนะการพัฒนาระบบให้เ)็นไปตามมาตรฐาน ICAO จัดทำข้อกำหนดโครงการ (TOR) และข้อมูลจำเพาะ เพื่อจัดจ้างผู้ประกอบการพัฒนาโครงการรวม ทั้งติดตั้งและประเมินผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว
2. แผนการออก e-passport ทูตและราชการเป็นโครงการนำร่อง ภายหลังจากได้ผู้ประกอบการจากการประกวดราคา เพื่อจัดจ้างผู้ประกอบการผลิตเล่มหนังสือเดินทางและพัฒนาระบบ e-passport จำนวน 7 ล้านเล่ม ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ และคาดว่าจะสามารถให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ที่กรมการกงสุลได้ในราวเดือน เมษายน 2548 เป็นต้นไป และขยายขอบข่ายครอบคลุม สำนักงานสาขาของกองหนังสือเดินทางทั้งในประเทศ และสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทย ในต่างประเทศได้ภายในปี 2548 รวมทั้งมีการปรับปรุงระบบ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน ด้านเทคนิคของ ICAO ทั้งนี้รูปเล่มหนังสือเดินทางจะมี 48 หน้า มีอายุการใช้งาน 5 ปี และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเล่มหรือต่ออายุในเล่มได้ (เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกำหนดของ ICAO) โดยผู้ขอทำหนังสือเดินทางแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงที่มีเลข 13 หลัก พร้อมกับลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์บนข้อมูลชีวภาพทั้งหมดซึ่งได้แก่ รูปภาพใบหน้า และลายนิ้วมือ

เจ้าหน้าที่การทูต 7
กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล
© ข้อมูลจากหนังสือ "วิทยุสราญรมย์" ปีที่ 6 ฉบับที่ 25 ตุลาคม - ธันวาคม 2547

0 Comments: